พิพิธภัณฑ์ชุมชนน้ำขาว



พิพิธภัณฑ์ชุมชนน้ำขาว ตั้งอยู่ที่ วัดน้ำขาวนอก หมู่ที่ ๓ ต.น้ำขาว อ.จะนะ จ.สงขลา โดยใช้อุโบสถหลังเก่าของวัดจัดทำเป็นที่จัดเก็บสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ ของคนในชุมชนน้ำขาวนับตั้งแต่ครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน โดยมีพระราชวิสุทธิญาณ (พระมหาจีรพล อธิจิตโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พระครูสิริญาณวิมล เจ้าอาวาสวัดน้ำขาวนอก ให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและสถานที่จัดตั้ง ปัจจุบันทางวัดได้เปิดให้บริการหน่วยงาน และผู้สนใจทั่วไปเข้าชม ตามเทศกาลสำคัญ เช่น วันพระใหญ่ หรือในคราวมีงานสำคัญของวัด เป็นประจำ

สำหรับบทบาทและภารกิจของพิพิธภัณฑ์ชุมชนน้ำขาวในอนาคต คือ จะร่วมกันรณรงค์สร้างองค์ความรู้ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้บริหารชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมแบบยั่งยืน ศึกษา ค้นคว้า โบราณวัตถุ โบราณสถาน ตามแหล่งต่าง ๆ ในตำบลน้ำขาว จัดทำประวัติ บันทึกเรื่องเล่าของบุคคล เอาไว้ให้เป็นระบบหมวดหมู่ เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องน้ำขาวศึกษาของชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนในชุมชน เช่น จัดกิจกรรมเทศกาลอาหารอร่อยของคนน้ำขาว ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน จัดนิทรรศการให้ความรู้กับชุมชนเนื่องในงานเทศกาลสำคัญ ๆ เป็นต้น


หลักคิด และจิตวิญญาณ...คุณค่า ไม่ใช่มูลค่า

พิพิธภัณฑ์ชุมชนน้ำขาว กับวัตถุสิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้ทุกชิ้นที่นำมาจัดแสดง ได้รับมาจากมือของเจ้าของและลูกหลานผู้สืบทอดตระกูล...วัตถุทุกชิ้น ล้วนได้ผ่านกาลเวลามายาวนาน แต่ละชิ้นได้เพียรพยายามทำหน้าที่ตามภารกิจของมันเพื่อสนองความต้องการของเจ้าของ... วัตถุบางชิ้นได้รับการส่งผ่านมาตั้งแต่ชั้น ปู่ ย่า ตา ยาย ลงสู่ชั้นพ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ...จากคนรุ่นหนึ่ง ลงสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ร่องรอยของการจับถือ สัมผัส ใช้งาน กลิ่นคราบเหงื่อไคล ยังรับรู้และรู้สึกได้ ขอเพียงแต่ลูกหลานผู้ใส่ใจ ได้มีโอกาสแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชม ใช้เวลานึกย้อนอดีต ใช้จิตจินตนาการ ทิ้งความสับสนปัจจุบันวางไว้สักครู่...พิพิธภัณฑ์ชุมชนน้ำขาว เรามีเรื่องราว เรื่องเล่า ตำนานเล่าขานที่ผ่านเลยแห่งกาลเวลาที่ไม่มีวันหวนกลับ ... เพียงแค่วัตถุเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งที่มองไม่เห็นมูลค่าทางราคา ...ถ้วยใส่อาหารจานเล็กมีรอยร้าว ติดคราบเกรอะกรัง ใครจะรู้ว่า อดีตมันได้ทำหน้าที่ผ่านการจับต้อง ลูบ ครำ มานับครั้งไม่ถ้วนจากบรรพบุรุษ สัมผัสรู้แห่งจิตที่ยากจะอธิบาย ขอเพียงแต่ได้หยุดเวลา รับรู้มันด้วยจิตที่สงบนิ่งลุ่มลึก นั่นแหล่ะ คือ คุณค่า ของวัตถุที่ไม่สามารถประเมินราคาได้ จิตจินตนาการ ความรู้สึกรัก ผูกพันต่อรากเหง้า เทือกเถาเหล่ากอ จะเกิดขึ้นตามภพภูมิแห่งอดีตชาติของตนเองโดยแท้จริง...


ในภาพ: นักเรียนโรงเรียนบ้านสะพานหัก เข้าชมภาพวาดฝาผนังอุโบสถวัดน้ำขาวนอก

แลหน้า ไม่ลืมหลัง

“การศึกษาหลุดกรอบ” กิจกรรมแลหน้า ไม่ลืมหลัง



“ร่วมกันสร้างจินตนาการ"

วัดขวด คือวัดที่สร้างขึ้นด้วยหลักการคิดแบบ “ปรัชญาแนวพุทธ”...ขวดเหล้า ขวดเบียร์ซึ่งเป็นผลผลิตของการพัฒนาเทคโนโลยียุคใหม่ ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างอุโบสถ กุฏิ รั้ว ของวัดได้สวยงามและลงตัว...มรณานุสติ ที่ยืนตระหง่าน โดดเด่น คอยย้ำเตือนผู้คนให้รู้จักคิด...



พักยก... ยังมีกิจกรรมอีก เดี๋ยวมาเล่าต่อ

การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญา“ฤๅษีนกแค็ต”

การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญา “ฤๅษีนกแค็ต”


“สร้างจินตนาการร่วมกัน มองเห็นชีวิตที่สัมพันธ์ สรรพสิ่งเกื้อกูลกันและกัน
หลากหลายรูปแบบ มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ศาสตร์ทุกแขนงสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นธรรมชาติ ไม่บิดเบือน ดำรงอยู่แบบบูรณาการ”


ติดตามกิจกรรมของ โรงเรียนการศึกษาหลุดกรอง คลิ๊กเลย