คั่วตอกหัวษา

คั่วตอกหัวษา




ตอก หือ ข้าวตอก ในเทศกาลเข้าพรรษา ช่วงแรกๆชาวบ้านน้ำขาวจะเรียกว่า หัวษา ในคืนแรกชาวบ้านจะนำข้าวตอกไปที่วัด และจะยังวางไว้ที่โรงธรรม พระจะฉันได้ก็ต่อเมื่อได้ทำพิธี หลองตอก(ฉลองเข้าตอก) วันนี้ เด็กๆน้ำขาวได้เรียนรู้ การทำข้าวตอก



ยายล้ำ (นางล้ำ ศรีมณี) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ ในการสาธิตและฝึกหัดเด็กๆ ได้เรียนรู้การคั่วข้าวตอก



เด็กๆต่างผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันไป มีฝึกการคั่วตอก ซึ่งมีสืบต่อกันมายาวนาน ที่บ้านน้ำขาว และกำลังจะหมดไปในอนาคต ปัจจุบันนี้หากต้องการข้าวตอก ก็แค่เอาเงินไปซื้อที่ตลาด ก็ได้ข้าวตอกตามต้องการง่ายดี แต่...

คุณนิกร ทองคง ได้กล่าวกับเด็กตอนหนึ่งว่า "สมัยก่อน ขณะคั่วข้าวตอก ต้องทำกันหลายคน ต้องมีความสามัคคีถึงจะทำได้ และคั่วข้าวตอกไป ก็มีการพูดคุยกันไป การพูดคุยกันน้นทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายๆอย่าง..."



นำข้าวตอกที่คั่วได้แล้ว มาเลือกเอา กาก ออก (กาก ภาษากลางผมไม่ทราบเรียกว่าออะไร) เพื่อเตรียมนำไปรับประทาน ชาวบ้านน้ำขาว นิยมรับประทานกับน้ำทุเรียน



ป้าผิ้น หมอวนิดา อุปมล (ข้าราชการบำนาญ) สาธิต การทำน้ำเดียวทุเรียน เพื่อใช้รับประทานกับข้าวตอก



เข้าแถว เตรียมชิมข้าวตอกน้ำทุเรียน ผีมือตัวเอง หรอยไม่หรอย ไม่ต้องโทษใคร ทำเองกินเอง...



ตัวแทน เยาวชนน้ำขาวเข้าวัดวันอาทิตย์ น้องสกลชัย ศรีทองคง กล่าวขอบคุณ ยายล้ำ วิทยกรรับเชิญ